|
![]() | 17 มิถุนายน 2565 |
![]() | 16 มิถุนายน 2565 |
![]() |
กรมควบคุมโรค ขอเผยแพร่ “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์” ฉบับที่ 16/2565 ประจำสัปดาห์ที่ 17 (วันที่ 24 - 30 เม.ย. 65) “จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 เมษายน 2565 พบผู้ป่วย จำนวน 1,098 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา คือ 15-24 ปี และเด็กแรกเกิด - 4 ปี ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูง 5 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพมหานคร แม่ฮ่องสอน นครปฐม พัทลุง และราชบุรี ตามลำดับ” “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพของสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงนี้ มีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้น้ำขังในภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยเรียน ที่อยู่บ้านในช่วงปิดเทอม มีโอกาสถูกยุงลายกัดในช่วงกลางวันได้ จึงขอให้ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้ปกครอง ช่วยกันกำจัดแหล่งพันธุ์ยุงลายบริเวณชุมชน และรอบบ้าน โดยเน้นมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1) เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก 2) เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3) เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง ซึ่งสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา กรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่า หากบุตรหลานหรือคนในครอบครัวมีอาการไข้สูง ให้หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง หากจำเป็นให้ใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสด เช่น ยาไอบรูโปรเฟน แอสไพริน หรือยาแก้ปวดไดโคลฟิแนก เพราะถ้าเป็นไข้จากโรคไข้เลือดออก ยากลุ่มนี้อาจมีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422”
******************************************************* ข้อมูลจาก : ทีม SAT / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค วันที่ 26 เมษายน 2565 15 มิถุนายน 2565 |
![]() | 15 มิถุนายน 2565 |
![]() | 15 มิถุนายน 2565 |
![]() | 13 มิถุนายน 2565 |
![]() | 02 มิถุนายน 2565 |
![]() | ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ) จำนวน 1 อัตรา 10 พฤษภาคม 2565 |
![]() | 1.ผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19 ตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วพบว่าขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวก ติดเชื้อโควิด-19 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ไม่ต้องให้ตรวจยืนยันซ้ำด้วย RT-PCR) ดำเนินการต่ออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ก.โทรศัพท์ - ต่างจังหวัด สถานพยาบาลสิทธิการรักษาหรือสถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน หรือสายด่วนเกี่ยวกับโควิด-19 ประจำอำเภอหรือจังหวัด (ดูรายละเอียดที่เฟสบุ๊กหรือเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัด - กทม. โทร.เบอร์สายด่วนของแต่ละเขต (เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือเฟสบุ๊ก กรุงเทพมหานคร: https://bit.ly/3FBOgvw ) หรือเพิ่มเพื่อนทาง Line @BKKCOVID19CONNECT หรือคลิก https://bit.ly/3Iuw7Si - สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 (ส่งให้สถานพยาบาลคัดกรองเบื้องต้น) ข.ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน • สิทธิบัตรทอง รักษาทุกที่ตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น • สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลตามสิทธิของท่านหรือโรงพยาบาลที่ท่านลงทะเบียนเลือกไว้ • สิทธิข้าราชการ ไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลภาครัฐ A.หากพบว่าไม่มีภาวะเสี่ยง แยกกักตัวที่บ้าน 7+3 วัน *** แนวทาง “เจอ แจก จบ” คือ หลังจากผู้ที่สงสัยป่วยโควิด-19 ตรวจ ATK แล้วหากพบผลเป็นบวก (เจอ) แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร (แจก) ได้แก่ 1.ยาฟ้าทะลายโจร 2.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก 3.ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง (จบ) ***สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สิทธิบัตรทอง ที่ได้รับการประเมินว่าไม่มีอาการแต่ยืนยันว่าต้องการเข้าระบบการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ตัดสินใจร่วมกับสถานพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และได้รับการดูแลตามระบบได้เช่นเดียวกัน B.ประเมินอาการแล้วพบว่ามีภาวะเสี่ยง แบ่งอาการเป็น 3 กรณีดังนี้ 1.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/ไม่มีโรคร่วมสำคัญ จับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อเข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) กรณีสภาพบ้านไม่พร้อมเข้าระบบการรักษาโดยชุมชนหรือศูนย์พักคอย (Community Isolation) ได้รับการดูแลแบบ tele-health แพทย์จะพิจารณาว่าจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากกำลังใช้ฟ้าทะลายโจรจะต้องหยุดฟ้าทะลายโจรก่อน มีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง (โทร.ติดตามอาการ, เครื่องวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว, ส่งอาหารถึงบ้าน) 2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และ 3.ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงมาก สองกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณารับการรักษาในโรงพยาบาล และพิจารณาให้ยารักษาที่มียาชนิดตามความเหมาะสม 2.กรณีตรวจ ATK แล้วผลตรวจเป็นลบ ขึ้น 1 ขีด • ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT/Self Quarantine การแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย • ตรวจ ATK ซ้ำเมื่อครบ 7 วันหรือเมื่อมีอาการ หากผลเป็นบวก ดำเนินการตามข้อ 1 หากผลเป็นลบ Self Quarantine อีก 3 วัน และ DMHTT *** DMHTT คือแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 คือ อยู่ห่างไว้, ใส่มาก์สกัน, หมั่นล้างมือ, ตรวจให้ไว, ใช้ไทยชนะ และหมอชนะ 3.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายเดิม ก่อน 1 มี.ค.65 ที่ลงทะเบียนเข้าระบบการรักษาที่บ้าน แต่ยังไม่ได้รับการจับคู่กับสถานพยาบาล • กรณีไม่มีอาการ-อาการเล็กน้อย ดำเนินการตามข้อ ข. คือ ไปที่โรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับบริการตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข “เจอ-แจก-จบ” • กรณีมีอาการ เข้ารักษาตามระบบ Home Isolation • กรณีมีอาการรุนแรง ส่งต่อเข้ารักษาในโรงพยาบาล หมายเหตุ ลงทะเบียนรักษาที่บ้าน (Home Isolation) เกิน 6 ชั่วโมง แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ แนะนำไปสถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน (โทร.นัดหมายก่อน) เพื่อรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทาง เจอ แจก จบ ระหว่างนี้ รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ แก้เจ็บคอ ลดน้ำมูก ดื่มน้ำมากๆ และกักตัวอยู่ที่บ้าน 7+3 วัน ตามแนวทางใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso /////////////2 มีนาคม 2565 10 พฤษภาคม 2565 |
![]() | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ขอแจ้งประกาศขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) 26 เมษายน 2565 |
![]() | สำหรับโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หนอนพยาธิฯ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดท้อง ถ่ายเหลว 3 ครั้งต่อวันหรือมากกว่า อุจจาระอาจพบเยื่อมูกและมีเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ในบางรายมีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น การป้องกันคือ ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก ในส่วนอาหารที่ปรุงประกอบไว้นานแล้ว ขอให้สำรวจก่อน หากมีกลิ่น รส หรือรูปเปลี่ยนไป ไม่ควรรับประทานต่อ ส่วนอาหารที่กลิ่น รส หรือรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลงควรอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทาน 25 เมษายน 2565 |
![]() | 04 เมษายน 2565 |
![]() | 31 มีนาคม 2565 |
![]() | 21 มีนาคม 2565 |
![]() | ตำแหน่ง นักการภารโรง จำนวน 1 อัตรา 14 มีนาคม 2565 |